ในการประชุมสุดยอดผู้นําของเอเอฟซีครั้งล่าสุด เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีการหยิบยกประเด็นเรื่องความเป็นไปได้ ในการนําเอาระบบเนชั้นลึก เข้ามาใช้ในทวีปเอเชียขึ้นมาถกกัน และหลายฝ่าย ต่างให้ความเห็นไปในทํานองเดียวกัน นั่นคือ “เห็นด้วย” และอาจนําระบบการแข่งขันดังกล่าวมาเริ่มใช้ในปี 2021 หรือในอีกสองปีข้างหน้า
เพียงแต่ประเด็นที่ยังคงเป็น อุปสรรค์และเป็นข้อกังวลของหลายๆ ชาติก็คือ เรื่องของระยะทาง ระหว่างฝั่งเอเชียตะวันออกและตะวันตกที่มีระยะห่างกัน ค่อนข้างมาก
แม้จะมีการแสดงความเป็นห่วง ในเรื่องของการจัดการแข่งขัน ระหว่างชาติจากโซนตะวันออกและตะวันตก แต่เมื่อทุกฝ่าย ต่างเห็นดีเห็นงามก็เท่ากับว่า “มันมีความเป็นไปได้!” ดังนั้น เราเองก็ควรจะมองเรื่องผลกระทบในด้านต่างๆ เพื่อเอาไว้บ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมและหาทางรับมือเอาไว้ล่วงหน้า

ผลกระทบอย่างแรก (ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว) คือ การหาทีมจากทวีปยุโรป เข้ามาอุ่นเครื่องด้วยในช่วงฟีฟ่าเดย์ เมื่อเนชั่นลีกเกิดขึ้นในฝั่งยุโรปไปแล้ว การจะหาทีมจากทวีปยุโรป มาเตะในช่วงฟีฟ่าเดย์ สําหรับเราหลังจากนี้คงเป็นเรื่องที่ทําได้ยาก เพราะแต่ละชาติในย่านนั้น ก็จะมีโปรแกรมเนชั่นลีกใส่ไว้รอ อยู่แล้วในปฏิทินฟีฟ่า อย่างรายการใกล้ตัวของไทยอย่าง “คิงส์คัพ” ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ ทีมจากทวีปยุโรป ที่มีคิวต้องลงเล่นในเนชั่นลีกรอบน็อคเอ้าท์ ก็จะหมดสิทธิมาเล่นในคิงส์คัพแล้วแน่นอน
อย่างที่สอง คือ โอกาสในการจัดทัวร์นาเม้นท์ของตัวเองและของภูมิภาคน่าจะถูกลดลง หรือถูกจํากัด ด้วยความที่ว่า เนชั่นลีกกําหนดให้แต่ละทีม ต้องลงเล่นกันมากถึง 6 นัด ในรอบแบ่งกลุ่ม (และอาจเป็น 8 นัดสําหรับบางทีมที่ได้ไป ถึงรอบน็อคเอ้าท์) บวกกับรายการอื่นที่สําคัญอย่างคัดเลือก ฟุตบอลโลกและเอเชียนคัพที่จะทําให้ตารางการแข่งขัน ในแต่ละช่วงของปฏิทินฟีฟ่าดูแน่นขนัด เพิ่มความลําบาก ในการจัดทัวร์นาเม้นท์อื่นๆ โดยเฉพาะรายการของตัวเอง และรายการระดับภูมิภาค เช่น คิงส์คัพและอาเชียนคัพ ที่สุดท้ายอาจต้องลดจํานวนแมตช์การแข่งขันหรืออาจต้อง จัดนอกปฏิทินฟีฟ่า
“เนชั่นลีกสําหรับเอเชีย” แม้ในวันนี้จะยังเป็นเพียงแค่แนวคิด และหลายฝ่ายกําลังเร่งศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนํา มาใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า แต่ก็คงจะไม่เสียหายนักถ้าวันนี้เราจะเริ่มเรียนรู้และศึกษามันเอาไว้เสียแต่เนิ่นๆ เพราะในโลกของ ฟุตบอลนั้น “มันไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้” จริงไหมล่ะครับ?.ท่านผู้อ่านทุกท่าน
ที่มาและกลไกของเนชั่นลีก
อย่างที่ใครหลายคนทราบกันดีว่าในแต่ละปีนั้น ฟีฟ่าได้กําหนดตารางการแข่งขันสําหรับทัวร์นาเม้นท์ต่างๆ ที่ฟีฟ่าได้ ให้การรับรอง รวมไปถึงแมตช์กระชับมิตรระหว่างแต่ละชาติภายใต้ช่วงเวลาที่เรียกว่า “ฟีฟ่าเดย์” นั่นคือ มีการเว้นวรรคฟุตบอล ลีกและบอลถ้วยภายในของแต่ละประเทศเพื่อหลีกทางให้แก่โปรแกรมทีมชาติ โดยกําหนดให้เงื่อนไขของการแข่งขันภายใต้คํา จํากัดความว่า “เอแมตช์” นั้นมีการคิดคะแนนฟีฟ่า
เพียงแต่เมื่อวันเวลาผ่านไปดูเหมือนว่าฟีฟ่าเดย์ที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเกมอุ่นเครื่อง หลายชาติยังไม่ค่อยให้ ความสําคัญกับมันเท่าที่ควร ซ้ําร้ายไปกว่านั้นบางประเทศซึ่งเป็นชาติเล็กๆ ก็มีข้อจํากัดในการหาทีมมาเตะด้วยอยู่เหมือนกัน (ใครล่ะจะอยากเล่นกับทีมที่มีอันดับห่างกว่าทีมตัวเองมาก? และความเอาจริงเอาจังในเกมอุ่นเครื่องมันจะมีมากน้อยแค่ไหนกัน?) 2 คําถามที่ว่ามานี้นี่แหละคือ “ที่มาของเนชั่นลีก”

เนชั่นลีกในทวีปยุโรปมีกลไกที่พอจะเข้าใจได้ไม่ยาก นั่นคือ การนําเอาทีมทั้งหมดจากยุโรป (55 ชาติ) มาซอยแบ่งเป็นอีก ต่างๆ ทั้ง A, B, C และ D ตามลําดับ โดยวางทีมแต่ละทีมโดยใช้อันดับฟีฟ่าเป็นเกณฑ์ พูดง่ายๆ คือ ทีมที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของทวีปก็จะอยู่ในลีกบนหรือลีก A ส่วนทีมที่อยู่ในอันดับรองๆ ต่อลงมาก็จะถูกจับไปวางในลีกรองถัดไปก็คือ B, C และ D ตามลําดับ
นอกจากจะมีการแบ่งเป็นอีกแล้ว ในแต่ละลีกยังมีการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยๆ ด้วยผลของการจับฉลาก แล้ว แต่ละทีมก็จะลงแข่งขันกันในกลุ่มและในลึกของตัวเองด้วยรูปแบบเหย้า-เยือนแบบพบกันหมด

โดยที่ทีมแชมป์หรือทีมที่ทําแต้ม ได้มากที่สุดในแต่ละกลุ่ม ก็จะได้สิทธิ์ในการเลื่อนขั้นไปอยู่ในลีกที่สูงกว่า ส่วนทีมอันดับบ้วยสุดของแต่ละกลุ่ม ก็จะตกชั้นลง ไปเล่นยังลีกที่ต่ํากว่า เช่น แชมป์จากลีก B ก็จะได้สิทธิ์เลื่อนไปเล่นในลีก A ในขณะที่ทีมบ๊วยของลีก B ต้องตกชั้นมาเล่นยังลีก C
แต่ละลีกจะมีทีมที่จะเลื่อนชั้นและตกชั้นทั้งหมดอีกละ 4 ทีม และสําหรับลีกสูงสุดอย่างลึก A ก็จะมีการชิงแชมป์ลีก สูงสุดโดยเอาแชมป์แต่ละกลุ่มมาเล่นในรอบน็อคเอาท์ (รอบ 4 ทีมสุดท้าย) โดยเล่นแบบนัดเดียวจบ โดยที่ผู้ชนะในรอบนี้จะ เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และไปดวลกันในนัดสุดท้ายเพื่อหาแชมป์เนชั่นอีกต่อไป
ประโยชน์ที่ได้จากเนชั่นลีก
“ฟุตบอลก็ไม่ต่างจากธุรกิจ” และ “ทัวร์นาเม้นท์หรือเกมการแข่งขันนํามาซึ่งเม็ดเงินมหาศาล” คิดกันง่ายๆ ว่าเมื่อเนชั่นลีก เกิดขึ้นก็จะมีแมตช์การแข่งขันอย่างเป็นทางการที่ฟีฟ่าให้การยอมรับอย่างน้อยๆ เป็นหลักร้อยนัดกระจายตามแต่ละภูมิภาคทั่ว ทั้งทวีป บรรดาค่าสปอนเซอร์, ค่าโฆษณา, ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด และรายรับด้านอื่นอีกจิปาฐะก็จะวิ่งเข้ามาสร้างเม็ดเงิน ได้มากมายมหาศาล

ผิดกับการอุ่นเครื่องแบบเก่าที่สมาคมฟุตบอลติดต่อ ทาบทามชาติอื่นให้มาเล่น บ้างก็ผ่านเอเย่นต์ บ้างก็ติดต่อเอง ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาค่าใช้จ่ายที่ทีมเหย้าจะต้องจ่ายให้ทีม เยือนไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง, ค่าโรงแรม, ค่าเช่าสนามซ้อม และเงินสนับสนุนแบบกินเปล่านั้น บางทีก็เป็นตัวเลขที่มาก เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน สวนทางกับรายได้จากการขายตัว เข้าชม, สปอนเซอร์และลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดซึ่งส่วนใหญ่ ให้เม็ดเงินกลับคืนมาได้ไม่มาก
หากมองในมุมของการทําคะแนนฟีฟ่า เนชั่นลีกก็ให้ค่า สัมประสิทธิ์ตัวคูณที่สูงกว่าการอุ่นเครื่องโดยทั่วไปในแบบเก่า เพราะตัวคูณในรอบแบ่งกลุ่มของเนชั่นลีกมีค่าสัมประสิทธิ์ มากถึง 15 ในขณะที่ตัวคูณสัมประสิทธิสําหรับการเตะนอก ปฏิทินฟีฟาจะมีแค่ 5 และถึงแม้จะเตะตามปฏิทินฟีฟ่าก็มีตัว คูณแค่ 10 เท่านั้น (ยังไม่นับรวมค่าสัมประสิทธิ์ในรอบน็อค เอ้าท์ของเนชั่นลีกที่ตัวคูณจะมีมากถึง 25 เทียบเท่ากับเกม ในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกและเอเชียนคัพ) พูดง่ายๆ คือ “มองยังไงตัวคุณเนชั่นลีกก็มีมากกว่า”
